การสูญเสียครั้งที่ 6

การเสียดินแดนครั้งที่ ๖



          ครั้งที่ 6 สิบสองปันนา ให้กับจีนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2397 พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นดินแดนในยูนานตอนใต้ของประเทศจีน เมืองเชียงรุ้งเป็นเมืองหลวงของไทยสมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาเกิดการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง แสนหวีฟ้า มหาอุปราชหนีลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้เกณฑ์ทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเมืองเชียงตุง (ต้องตีเมืองเชียงตุงให้ได้ก่อนจึงจะได้เชียงรุ้ง) แต่ไม่สำเร็จเพราะไม่พร้อมเพรียงกัน  มาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ให้กรมหลวงลวษาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) ยกทัพไปตีเชียงตุงเป็นครั้งที่ 2 แต่ไม่สำเร็จจึงต้องเสียให้จีนไป

          เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (จีนตัวเต็ม: 西雙版納傣族自治州; จีนตัวย่อ: 西双版纳傣族自治州; พินอิน: Xīshuāngbǎnnà dǎizú Zìzhìzhōu; อังกฤษ: Xishuangbanna Autonomous Region of Tai Ethnic Groups) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา มีความหมายว่า "นาสิบสองพัน" หรือ "นา 12,000 ผืน" อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีน: 景洪 จิ่งหง) เป็นเมืองของชาวไทลื้อ

          เขตปกครองตนเองพิเศษสิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตาราง กม. มีอาณาเขตติดกับ แขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาวและ รัฐฉาน ของ พม่า โดยมีชายแดนยาวถึง 966 กิโลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง

ประวัติ
          ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมือง ต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน
สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ้ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา(ตามประวัติศาสตร์จีน)
          การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอณาเขตเข้าไปยึดถึงเชียงตุ๋ง เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบไต้คง
          สิบสองปันนาดำรงความมั่นคมเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า
          เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ้งเป็น สิบสองปัน และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ้ง จึงเรียกเรียกแมองแถวๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา

ตามเอกสารที่ได้บันทึกเมื่อปี พ.ศ. 2113 จัดแบ่งไว้ ดังนี้ 
  1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
  2. เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
  3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
  4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
  5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
  6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
  7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
  8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
  9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
  10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
  11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
  12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
  13. เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา


สมัยรัตนโกสินทร์
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น หลังจากพระองค์ได้ส่งทัพมาปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระองค์ได้โปรดให้พระเจ้ากาวิละเป็นแม่ทัพ ยกไปตีเมืองและกวาดต้อนพลเมือง ชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ไทลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า ไทขึนจากเชียงตุง ไทใหญ่จากตะวันออกของพม่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก
เชียงรุ่งถุกยื้อแย่งดึงโดยอาณาจักรใกล้เคียงไปมาอยู่ไม่นาน กระทั่งยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคมในช่วงรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 ทั้งอังกฤษ และ ฝรั่งเศส เข้ามาขีดเขตอำนาจของตน ให้พม่าไปอยู่กับอังกฤษ สิบสองปันนา อยู่กับจีน เชียงตุงไปกับพม่า และ ฝรั่งเศสคุมลาว กัมพูชา และ เวียดนาม
          ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ้งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อมๆกับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 45 พระองค์ ในปัจจุบัน คนที่มีแซ่เต๋า () ก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้

เขตการปกครอง
  • เมืองเชียงรุ่ง 360,000 คน
  • เมืองเมงฮาย หรือ เมืองฮาย (孟海県) ทางตะวันตก 300,000 คน
  • เมืองเมงล่า หรือ เมืองล่า (孟腊県) ทางตะวันออก 180,000 คน


ชนเผ่า
          จำนวนประชากรแบ่งตามชนเผ่า เมื่อปี พ.ศ. 2543

เชื้อชาติ
ประชากร
เปอร์เซนต์
ไท
296,930
29.89%
ฮั่น
289,181
29.11%
อาข่า
186,067
18.73%
ยี
55,772
5.61%
ลาหู่
55,548
5.59%
ปะหล่อง
36,453
3.67%
จินัว
20,199
2.03%
อิ้วเมี่ยน หรือ เย้า
18,679
1.88%
แม้ว หรือ ม้ง
11,037
1.11%
ไป๋
5,931
0.6%
ประชากรส่วนน้อย
5,640
0.57%
หุย
3,911
0.39%
ว้า
3,112
0.31%
จ้วง
2,130
0.21%
อื่นๆ
2,807
0.3%

สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา
          มีความหมายเดียวกันก็คือสิบสองปันนา แต่แท้ที่จริงแล้วคนไทยกลางจะเรียกว่า สิบสองพันนา ส่วนทางเหนือนั้นเป็น สิบสองปันนา สาเหตุก็เพราะว่า ชาวไทลื้อ และ ชาวล้านนา ออกเสียง "พ" เป็น "ป" ออกเสียง "เชียงรุ่ง" เป็น "เจงฮุ่ง" เหมือนกับคำเมือง ดังนั้นสาเหตุที่แตกต่างกันก็คือสำเนียงในแต่ละถิ่น