การสูญเสียครั้งที่ 11

การเสียดินแดนครั้งที ๑๑



           ครั้งที่ ๑๑ ฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ดินแดนในทิศตะวันออกของน่าน,จำปาศักดิ์, ,มโนไพร) ให้กับฝรั่งเศสเมื่อ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๖ พื้นที่ ๒๕,๕๐๐ ตร.กม. ในสมัย.ร.๕ ไทยทำสัญญากับฝรั่งเศสเพื่อขอให้ฝรั่งเศสคืนจันทบุรีให้ไทย แต่ฝรั่งเศสถอนไปแต่จันทบุรีแล้วไปยึดเมืองตราดแทนอีก ๕ ปี แล้วเมื่อฝรั่งเศสได้หลวงพระบางแล้วยังลุกล้ำย้านนาดี, ด่านซ้าน จ.เลย และยังได้เอาศิลาจารึกที่พระเจดีย์ศรีสองรักษ์ไปด้วย

การเสียดินแดนฝั่วขวาแม่น้ำโขงใน พ.ศ. ๒๔๔๖

           การเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองน่านให้ฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ บริเวณฝั่งขวามแม่น้ำโขงเป็นเขตอิทธิพลของ ล้านนา ถือกันมาแต่โบราณว่า เขตแดนล้านนาจดกับแม่น้ำโขง แม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นล้านนาและล้านช้าง (ลาว) หลักการข้างต้นยังปฏิบัติสืบมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๕ เพราะมีหลักฐานกล่าวถึง เมืองเงิน หรือกุฎสาวดี ตั้งอยู่ฝั่งขวา ริมแม่น้ำโขงอยู่ในความปกครองของเมืองน่าน เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ คนในบังคับอังกฤษเดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองเงิน ถูกคนร้ายฆ่าตาย เจ้าเมืองน่านเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหาย

           หัวเมืองชายแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่ขึ้นกับเมืองน่าน ประกอบด้วย เมืองเงิน เมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน แม้จะเป็นเมืองชายขอบของเมืองน่าน แต่เมืองน่านดูแลอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามเมื่อจักรวรรดิ์นิยมมีความต้องการดินแดน ส่วนนี้ก็เข้าแทรกแซงด้วยกำลังที่เหนือกว่า จนกระทั่งได้ไปในที่สุด

           สาเหตุการเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่เศสในปี พ.ศ.๒๔๔๖ นั้น สืบเนื่องมาจากปัญหาสองประการ คือ
  • ประการแรก ผลของการตีความในสนธิสัญญาที่ลงนามเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับดินแดน ฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต ๒๕ กิโลเมตร
  • ประการที่สอง สืบเนื่องมาจากปัญหาการแย่งชิงบ่อเกลือ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในบริเวณต้นแม่น้ำน่าน เมืองที่มีบ่อเกลือมากได้แก่ เมืองเงิน จึงเกิดปัญหาโต้เถียงกันบ่อยที่สุด และเป็นเมืองที่อยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตรทาง ฝั่งขวาแม่น้ำโขง โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเงินซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขง ประกอบกับเป็นเมืองที่มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ราษฎรส่วนใหญ่มีเชื้อสายลื้อ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นสิ่งยั่วยุให้ฝรั่งเศสคิดเข้าครอบครองบริเวณส่วนนี้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามราษฎรส่วนใหญ่ในเมืองเงิน มีความจงรักภักดีต่อเจ้าเมืองน่านมาก จึงเป็นอุปสรรคต่อการเกลี้ยกล่อม ของฝรั่งเศสไม่น้อย นอกจากเมืองเงินซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในเขต ๒๕ กิโลเมตรแล้ว ยังมีเมืองคอบ เมืองเชียงลม และ เมืองเชียงฮ่อน ล้วนต้องประสบปัญหาการเข้าแทรกแซงของฝรั่งเศสทั้งสิ้น

           การดำเนินการของฝรั่งเศสเพื่อแทรกแซงดินแดนในส่วนนี้ ใช้หลวงพระบางเป็นแนวหน้า โดยฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้เจ้า หลวงพระบาง ส่งคนเข้าแทรกแซงฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขตเมืองน่าน และให้เจ้าหน้าที่กงสุลฝรั่งเศสประจำเมืองน่าน สนับสนุนการกระทำของเจ้าหลวงพระบาง

           จากการที่ฝรั่งเศสได้แสดงท่าทีสนับสนุนอย่างจริงจัง ทำให้เจ้าหลวงพระบางกำเริบใจยิ่งขึ้น ถึงกับส่งพระยาแพนพร้อมกับ ทหารและข้าราชการพลเรือนจำนวนหนึ่งเข้ามาอยู่ในเมืองเงิน แล้วให้ดำเนินการปกครอง จัดเก็บภาษีอากรต่าง ๆ โดยพลการ ทั้ง ๆ ที่ขณะนั้นเจ้าเมืองน่านได้จัดการปกครองเมืองเงินให้เป็นที่เรียบร้อยอยู่แล้ว โดยมีหนานสุทธิสารบุตรชายเจ้าเมืองน่าน เป็นผู้รักษาราชการเมืองเงิน สถานการณ์ในเมืองเงินขณะนั้น จึงอ้างสิทธิและแย่งชิงกัน

นอกจากเจ้าหลวงพระบางจะส่งคนเข้ามาปกครองในดินแดนดังกล่าวแล้ว เจ้าหลวงพระบางยังได้ดำเนินการแทรกแซงโดยวิธี การต่าง ๆ อีก เช่นไม่ให้ข้าราชการไทยเข้าไปในเขต ๒๕ กิโลเมตรริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง ซึ่งฝรั่งเศสได้ประกาศว่าเป็นดินแดน กลางที่ยังไม่ตกลงว่าเป็นของฝ่ายไหน แต่พวกหลวงพระบางกลับเข้ามาเกลี้ยกล่อมให้ราษฎรฝั่งขวาแม่น้ำโขงอพยพไปอยู่ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส ผู้ใดขัดขืนจะถูกบังคับจับกุมไป โดยพวกหลวงพระบางได้ขยายขอบเขตการ แทรกแซงเข้ามาสู่เมืองอื่น ๆ นอกจากเมืองเงินด้วย

           การแทรกแซงและคุกคามไทยด้วยลักษณะดังกล่าว ทางรัฐบาลไทยไม่ได้โต้ตอบอย่างรุนแรง แต่ตลอดเวลาไทยกลับใช้นโยบาย ทางการฑูตเจรจากับฝรั่งเศส เพราะไทยต้องการหลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธกับฝรั่งเศส ด้วยเข้าใจดีว่าถ้าหากเกิด ปะทะกันไทยจะต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างแน่นอน ทั้งนี้นับเป็นบทเรียนที่ไทยได้รับมาจากการปะทะกันที่ปากน้ำ ในวิกฤติกาล ร.ศ.๑๑๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ นั่นเอง อย่างไรก็ตามการแก้ปัญาด้วยวิธีทางการฑูตเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ก่อ ให้เกิดผลดีขึ้นได้อย่างเต็มที่นัก ดังนั้นรัฐบาลไทยจึงได้พยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ภายในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ควบคู่กันไป โดยรัฐบาลได้ออกคำสั่งไม่ให้ผู้ว่าราชการเมืองทุกเมืองที่อยู่ในเขต ๒๕ กิโลเมตรของฝั่งขวาแม่น้ำโขงถอนตัว ออกตามคำสั่งของฝ่ายหลวงพระบางเป็นอันขาด แม้จะถูกข่มขู่เพียงใดผู้ว่าราชการเมืองก็จะต้องรักษาเมืองไว้ให้ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสิทธิและอธิปไตยของไทยในดินแดนเหล่านั้นให้ถึงที่สุด หากไทยถอนตัวออกก็เท่ากับปล่อยให้ฝ่าย หลวงพระบางปกครองอยู่ฝ่ายเดียว อันนำไปสู่การยึดครองของฝรั่งเศส ซึ่งจากคำสั่งให้ผู้ว่าราชการเมืองทุกเมืองในเขต ๒๕ กิโลเมตรรักษาเมืองจนถึงที่สุดนี้เองรัฐบาลจึงได้อนุญาตให้แต่ละเมืองมีการกะเกณฑ์กำลังป้องกันตนเองเตรียมพร้อมเพื่อ รักษาดินแดนส่วนนั้น อย่างไรก็ตามหากฝรั่งเศสขับไล่ถึงขั้นใช้อาวุธปะทะกันแล้ว แต่ละเมืองจะต้องใช้กำลังในท้องถิ่น ของตนป้องกันบ้านเมืองเอง ไม่ต้องเกณฑ์กำลังจากเมืองอื่นๆ ไปช่วย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การปะทะกันนั้นลุกลามกลาย เป็นสงคราม

           ในขณะเดียวกันข้าหลวงเมืองน่าน ก็ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการชี้แจงให้ข้าราชการและราษฎรทั้งหลายได้ทราบว่า ดินแดน ๒๕ กิโลเมตรทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงนั้น เป็นส่วนของไทยไม่ใช้ดินแดนของกลางดังที่ฝรั่งเศสอ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ข้าราชการและ ราษฎรในบริเวณนั้นเข้าใจในความเป็นจริง จะได้ร่วมมือร่วมใจรักษาดินแดนส่วนนั้น รวมทั้งไม่ต้องยอมเสียเงินให้แก่ ฝ่ายหลวงพระบาง

           อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อป้องกันการรุกรานของหลวงพระบางและฝรั่งเศสนั้นไม่เป็นผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะฝรั่งเศสมีความปรารถนาที่จะครอบครองดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างจริงจัง ประกอบกับไทยไม่ต้องการปะทะกัน ด้วยอาวุธอย่างเต็มที่ ทำให้การป้องกันเป็นไปอย่างยากลำบากและเป็นสิ่งที่ไม่มีทางเป็นไปได้

           ปัญหาการรุกรานฝั่งขวาแม่น้ำโขงของฝ่ายหลวงพระบางและฝรั่งเศส ซึ่งยืดเยื้อมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๘ ก็ยุติลงเมื่อฝ่ายไทย ยินยอมยกดินแดนส่วนนี้ให้แก่ฝรั่งเศส โดยลงนามในสนธิสัญญาเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ (พ.ศ.๒๔๔๖)

           เหตุผลที่ไทยต้องยอมสูญเสียดินแดนดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศสในครั้งนั้น เพราะไทยต้องการยุติปัญหาการแย่งชิงเมืองเงิน ระหว่างเมืองน่านกับหลวงพระบาง ซึ่งทั้งสองได้เข้ามาแย่งกันปกครองจนเกิดการวิวาทถกเถียงกันเสมอ โดยทุกครั้งไทย ต้องพยายามอดกลั้นไม่ใช้กำลังโต้ตอบตลอดมา เพราะไม่ปรารถนาประจัญหน้ากับฝรั่งเศส ผู้สนับสนุนการกระทำของ หลวงพระบาง ฉะนั้นเพื่อยุติปัญหาที่ยืดเยื้อไทยจึงต้องยอมยกเมืองเงินและเมืองอื่น ๆ ในบริเวณนั้นให้แก่ฝรั่งเศสตามต้องการ ซึ่งเป็นผลให้การคุกคามของฝรั่งเศสด้านมณฑลพายัพยุติลงด้วย ทำให้ฝ่ายไทยมีโอกาสจัดการปกครองภายในมณฑลพายัพ ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการสูญเสียดินแดนดังกล่าว เพื่อแลกกับการยึดครองเมืองจันทบุรีที่ฝรั่งเศสยึดไว้เป็นประกัน

ที่มา :  http://www.oknation.net/blog/political4/2009/09/03/entry-7